วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ชนิดของการเล่นตะกร้อ




การเล่นตะกร้อในประเทศไทยเท่าที่ปรากฏมาแต่เดิมจนถึงปัจจุบันมีอยู่ ๘ ประการด้วยกันคือ     



1. ตะกร้อวงเล็ก
    ตะก้อวงนับเป็นการเริ่มแรกของรูปแบบการเล่นตะกร้อ ซึ่งอาจใช้ผู้เล่นเพียงคนเดียว เตะหรือเดาะลูก เล่นให้ลูกลอยอยู่
ในอากาศและใช้อวัยวะหลายๆ ส่วนที่แตกต่างกันเตะหรือเดาะลูก โดยใช้ทั้งเท้า เข่า ศอก ศีรษะ ต่อมาอาจมีผู้เล่นเพิ่มเป็น 
2 คน มีการโยนให้ผู้ยืนอยู่ตรงข้ามเตะโต้กันเป็นเวลานานๆ โดยทั่วไปแล้วผู้เตะมักจะเตะลูกที่ตนถนัด เช่น ลูกแป ลูกหลัง
เท้า ลูกโหม่ง เป็นต้น การเล่นตะกร้อวงเล็กนั้นจะเล่นในบริเวณที่แคบๆ เช่น บนโต๊ะ หรือสนามซึ่งเส้นผ่านศูนย์กลาง
ประมาณ 2 – 3 เมตร






2. ตะกร้อวงใหญ่ 
    ลักษณะและรูปแบบการเล่นเหมือนกับการเล่นตะกร้อวงเล็ก ต่างกันตรงที่สถานที่เล่นและจำนวนผู้เล่น กล่าวคือ ตะกร้อ
วงใหญ่จะเล่นในสนามเรียบมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 – 14 เมตร ซึ่งอยู่กับผู้เล่นว่าจะมีจำนวนเท่าใด โดยปกติ
แล้วจะมีผู้เล่นตั้งแต่ 5 – 8 คน ท่าทางการเล่นนั้นก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการเล่นตะกร้อวงเล็ก แต่ตะกร้อวงใหญ่ต้องออก
แรงเตะลูกหรือส่งลูกมากกว่า มิฉะนั้นตะกร้อจะไม่ถึงผู้รับ ผู้เล่นต้องระมัดระวังจังหวะการเล่น ท่าทางต่างๆ ตลอดจนน้ำหนัก
หรือแรงเหวี่ยงให้เหมาะสม





3. ตะกร้อเตะทน
    ตะกร้อเตะทนหรือตะกร้อวงเตะทน มักนิยมเล่นแข่งขันกันเป็นทีม จึงควรศึกษาไว้เพื่อนำไปเล่นกันต่อไป







4. ตะกร้อพลิกแพลง
    ตะกร้อพลิกแพลง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การติดตะกร้อ” การเล่นตะกร้อแบบนี้ผู้เล่นต้องมีความชำนาญเป็นอย่างดี
เพราะลูกที่ผู้เตะจะเตะแต่ละท่า ดัดแปลงมาจากท่าธรรมดา การเล่นตะกร้อพลิกแพลงนี้ส่วนมากไม่ทำการแข่งขัน เป็นเพียง
เล่นกันเพื่ออวดลวดลายในการเตะเพื่อดูกันแปลกๆ และเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินกันเท่านั้น วิธีเล่นก็ตั้งวงเหมือน
ตะกร้อวง แต่ไม่ต้องขีดเส้นเหมือนตะกร้อวง ผู้เล่นจะมีตั้งแต่ 2 – 8 คน แต่ละคนก็จะเตะหรือใช้กระบวนท่าส่งลูกไปยังคู่
ซึ่งคู่โต้ก็จะแสดงท่าพลิกแพลงต่างๆ ในลักษณะที่เรียกกันว่า “ติดตะกร้อ” สักระยะเวลาหนึ่งแล้วก็จะส่งกลับไปยังผู้เล่นอื่น
บ้าง ซึ่งผู้เล่นร่วมวงคนอื่นก็จะแสดงท่าพลิกแพลงที่แตกต่างกันออกไปอีก เช่น รับลูกตะกร้อที่ส่งมาด้วยหลังเท้าแล้วเตะ
ลูกไม่ให้ตก จากนั้นก็เตะส่งลูกขึ้นไปติดค้างกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ข้อพับ ขาหนีบ ซอกคอ ต้นคอ หน้าขา หรือ
สงบนิ่งอยู่บนหลังเท้าและเมื่อได้จังหวะอีกก็เตะลูกใหม่ไปติดค้างอยู่ตามร่างกายส่วนอื่นๆ ได้อีก ผู้เล่นที่ชำนาญจะติด
ตะกร้อได้ตั้งแต่หนึ่งลูก ไปจนถึง 17 ลูกก็มี




5. ตะกร้อชิงธง
     ตะกร้อชิงธงหรือตะกร้อเตะช่วงชัย เป็นการแข่งขันตะกร้ออีกวิธีหนึ่ง คล้ายการแข่งขันวิ่งวัวหรือวิ่งเร็ว โดยขีด
เส้นด้วยปูนขาวลงบนพื้น ทำเป็นช่องทางกว้างประมาณ ๓ เมตร ยาวประมาณ ๕๐ เมตร เมื่อผู้เข้าแข่งขันยืนประจำที่เส้นเริ่ม
ต้น จากนั้นเมื่อได้ยินสัญญาณให้เลี้ยงตะกร้อด้วยอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ยกเว้นมือ โดยพยายามพาลูกตะกร้อไปยัง
ปลายทาง ซึ่งมีเส้นชัย มีธงปักไว้เป็นเครื่องหมาย ถ้าผู้เล่นคนใดสามารถเลี้ยงตะกร้อโดยไม่ออกนอกลู่ และไม่ตกพื้นจน
กระทั่งถึงเส้นชัยก่อนจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน







6. ตะกร้อลอดห่วง
     ตะกร้อลอดห่วง มักเรียกวันหลายชื่อ เช่น ตะกร้อลอดบ่วง ตะกร้อห่วงชัย หลวงมงคลแมน ( สังข์ บูรณะศิริ )
เป็นผู้ริเริ่มคิดขึ้นราวช่วง พ.ศ. 2470 – 2475 เริ่มมีการแข่งขึ้นครั้งแรกราว พ.ศ. 2476 ตะกร้อลอดห่วงมีผู้เล่น 7 คน
สำรอง 3 คน สนามสำหรับสำหรับแข่งเป็นพื้นราบอยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ ในขณะที่เล่นจะเปลี่ยนตัวผู้เล่นไม่ได้ จะ
เปลี่ยนได้ในคราวแข่งขันคราวต่อไป มีลวดสปริงขึงไว้ระหว่างเสาทั้งสองต้นซึ่งห่างกันประมาณ 20 เมตร ลวดสปริงที่ขึง
นั้นสูงจากพื้น 8 เมตร มีรอกสำหรับแขวนห่วง 1 ตัว อยู่กึ่งกลางลวดสปริงห่วงชัยประกอบด้วยวงกลม 3 ห่วง ขนาดเท่ากัน
จะทำด้วยโลหะ หวาย หรือไม้ก็ได้ ขอบล่างของห่วงต้องได้ระดับ สูงจากพื้นสนาม 5.75 เมตร เวลาลูกตะกร้อเข้าห่วง ให้
หย่อนลงมาเพื่อนะลูกตะกร้อจากถุงห่วงและโยนขึ้นเล่นใหม่ มีผู้ชักรอก 1 คน ใช้เวลาในการแข่งขันครั้งละ 50 นาที ไม่มี
พัก ผู้เล่นทั้ง 7 คน ยืนเป็นวงห่างกันพอสมควร การเตะลูกตะกร้อเข้าห่วงทำได้ทุกคนจะเตะลูกตะกร้อท่าใดก็ได้และมี
คะแนนให้ทุกท่าและทุกลูกที่เข้าห่วง โดยให้คะแนนตามความยากง่ายของแต่ละท่า คณะตะกร้อชุดใดได้คะแนนมากในเวลา
ที่กำหนดเป็นฝ่ายชนะ
        รายละเอียดเกี่ยวกับกติกาการแข่งขันตะกร้อลอดห่วง ศึกษาได้จากสมาคมกีฬาไทยพระบรมราชูปถัมภ์และสมาคม
ตะกร้อแห่งประเทศไทย หรือที่สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย ทุกแห่ง









7. ตะกร้อข้ามตาข่าย
    การเล่นตะกร้อข้ามตาข่ายแบบไทยนี้ เนื่องจากมีนักตะกร้อและนักแบดมินตันบางท่าน ซึ่งมี หลวงสำเร็จวรรณกิจ ขุนจรร
ยาวิฑิต นายผล ผลาสินธุ์  และนายยิ้ม ศรีหงส์ เป็นคณะผู้ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2472 โดยพยายามประยุกต์
การเล่นตะกร้อกับแบดมินตันเข้าด้วยกันและเรียกกีฬาใหม่นี้ว่า “ตะกร้อข้ามตาข่าย” โดยมีการนับคะแนนแบบแบดมินตัน
จนถึง พ.ศ. 2475 สมาคมกีฬาสยามซึ่งเป็นชื่อสมาคมในสมัยนั้น บัดนี้เปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมกีฬาไทย ได้ขอให้หลวงคุณ
วิชาสนอง ร่างกติกาตะกร้อข้ามตาข่ายขึ้น และ พ.ศ. 2476 จึงจัดให้มีการแข่งขันตะกร้อข้ามตาข่ายระหว่างประชาชนขึ้น
เป็นครั้งแรกในงานฉลองรัฐธรรมนูญ ประจำปี พ.ศ. 2476 ปรากฏว่าต่อมามีผู้นิยมเล่นกันมากและแพร่หลายกันมากขึ้นตาม
ลำดับ จนถึง พ.ศ. 2479 กรมพลศึกษาจึงจัดให้มีการแข่งขันตะกร้อข้ามตาข่ายระหว่างนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก 






8. เซปักตะกร้อ
    เซปักตะกร้อหรือตะกร้อข้ามตาข่ายแบบสากล เป็นกีฬาที่ได้พัฒนามาจนเป็นที่แพร่หลายไปเกือบทั่วโลก 
ประเทศมาเลเซียเป็นผู้คิดค้นกติกาการเล่น ซึ่งลักษณะการเล่นเซปักตะกร้อคล้ายกับการเล่นตะกร้อข้ามตาข่ายของไทย
แต่ต่างกันตรงรูปแบบ สนาม การเล่นลูก การนับคะแนน และกติกาการแล่น
     ในปี พ.ศ. 2508 ในช่วงฤดูการแข่งขันกีฬาไทย ซึ่งมีการแข่งขันว่าว กระบี่กระบอง และตะกร้อ โดยสมาคมกีฬาไทย
ณ ท้องสนามหลวง ราวเดือนมีนาคมและเมษายน ในปีนี้สนามคมตะกร้อจากปีนัง ประเทศมาเลเซีย ได้เชื่อมความสัมพันธ์
เพื่อแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ได้มีการแข่งขันตะกร้อของทั้งสองประเทศ นักกีฬาทีมชาติไทยมีความถนัด
ในการเล่นตะกร้อแบบกติกาไทย ส่วนนักกีฬาทีมชาติมาเลเซีย มีความถนัดในการเล่นตะกร้อแบบกติกามาเลเซีย คณะ
กรรมการจัดการแข่งขัน จึงได้กำหนดกติกาในการแข่งขันทั้งสองแบบ ผลการแข่งขันตะกร้อแบบกติกาไทย ปรากฏว่านัก
กีฬาทีมชาติไทยชนะนักกีฬาทีมชาติมาเลเซียสองเซตรวด ส่วนการแข่งขันแบบกติกามาเลเซีย ปรากฏว่านักกีฬาทีมชาติ
ไทยแพ้นักกีฬาทีมชาติมาเลเซียสิงเซตรวดเช่นเดียวกัน
      ภายหลังการแข่งขันตะกร้อครั้งนั้น คณะผู้ประสานงานกีฬาตะกร้อของทั้งสองประเทศ ได้มีการประชุมเพื่อปรึกษาหา
รือในการเผยแพร่กีฬาชนิดนี้ให้กว้างขวางเป็นที่นิยมต่อนาอารยประเทศ จึงได้ตกลงร่วมกันกำหนดชื่อกีฬานี้ขึ้นใหม่ ซึ่งทั้ง
สองประเทศนี้ใช้ชื่อไม่เหมือนกัน ประเทศไทยใช้ชื่อว่า “กีฬาตะกร้อ” ส่วนมาเลเซียใช้ชื่อว่า “ซีปัก รากา” ซึ่งคำว่า รากา
นั้น แปลว่าตะกร้อนั้นเอง คณะกรรมการประสานงานหรือสมาคมกีฬาของทั้งสองประเทศ จึงได้นำคำว่า SEPAK ของ
มาเลเซีย มารวมกับคำว่า ตะกร้อ ของประเทศไทย รวมเป็นคำว่า SEPAK – TAKRAW หรือ เซปักตะกร้อมาตราบเท่าทุก
วันนี้ และกีฬาเซปักตะกร้อได้บรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และบรรจุเข้า
แข่งขันในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน








ที่มา  www.google.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น